Danielle Boyer - ผู้พิทักษ์สิทธิเยาวชนและผู้ก่อตั้ง STEAM Connection

ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
Pangea temporary hotfixes here

Danielle Boyer อยากให้เด็ก ๆ ทุกคนมีพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์ (STEAM) พื้นที่สนุกสนานที่ยอมรับความแตกต่างที่เธอไม่เคยมี นั่นเป็นเหตุผลที่นักประดิษฐ์หุ่นยนต์และผู้พิทักษ์สิทธิเยาวชนอย่างเธอก่อตั้ง STEAM Connection ขึ้นมา Danielle เป็นชนพื้นเมือง (ชาวโอจิบเว) และหญิงรักหญิงที่ Logitech MX #WomenWhoMaster ขอนำเสนอในเดือนนี้ เธอมาแบ่งปันถึงสิ่งที่นำพาเธอมาก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เธอ และเหตุผลที่การยกระดับชุมชนชาวพื้นเมืองมีความสำคัญต่อเธอ

คำถาม: คุณสนใจหุ่นยนต์ครั้งแรกได้อย่างไร?

ฉันเป็นเด็กบ้านเรียนส่วนใหญ่ในชีวิตค่ะ จากนั้นเมื่อฉันเข้าโรงเรียนมัธยมปลาย ฉันเข้าร่วมคลับหุ่นยนต์ ตอนนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะการเข้าร่วมต้องใช้เงินหลายร้อยเหรียญ ฉันตื่นเต้นมาก แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่ลำบาก ฉันเป็นผู้หญิงคนเดียวและไม่ได้รับการดูแลดีนัก ผู้ชายหลายคนกลั่นแกล้งฉัน มีคนใช้โดรนแบบตามฉัน และถูกคุกคามอยู่บ่อย ๆ ฉันท้อมากเพราะฉันอยากเรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์ สุดท้ายฉันก็ต้องออกจากทีมไป

ประสบการณ์ของฉันกระตุ้นให้ฉันเริ่มต้นงานกุศลของตัวเอง STEAM Connection เพราะไม่มีเด็กคนไหนควรมีพื้นที่ที่ตัวเองรู้สึกว่าเรียนรู้อย่างปลอดภัยไม่ได้ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง

คำถาม: STEAM Connection คืออะไร?

STEAM Connection เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ทำงานเพื่อเพิ่มการเข้าศึกษาการศึกษาด้านเทคนิคสำหรับนักเรียนชนพื้นเมือง ภายใน STEM มีช่องว่าการเข้าถึงขนาดใหญ่ โดยเฉพาะสำหรับนักเรียนชนพื้นเมือง โดยเฉพาะการขาดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการขาดตัวแทน ในวงการวิศวกรรมมีสัดส่วนชนพื้นเมืองน้อยกว่าครึ่ง เราสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่ปลอดภัยให้นักเรียนเรียนรู้ทักษะ STEM ตลอด 4 ปีเรามอบทรัพยากรการเรียนรู้ทางเทคนิคฟรีให้แก่เด็ก ๆ กว่า 600,000 คน

คำถาม: ทักษะ STEM อันดับต้น ๆ ที่คนรุ่นต่อไปควรเรียนรู้คืออะไร?

การเขียนโค้ด, การออกแบบ 3 มิติ และวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด ทักษะระดับพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์และความเป็นจริงเสริมก็สำคัญ ทักษะเหล่านี้คือสิ่งที่เราสอนด้วยหุ่นยนต์ และเรายังปรับใช้หลักสูตรความเป็นจริงเสริมใหม่อีกด้วย นอกจากนี้ หุ่นยนต์ใหม่ของเรายังทำงานกับปัญญาประดิษฐ์และระบบพื้นฐานภายใน ที่ทำงานได้โดยไม่ใช้ Wi-Fi เพราะเรามีช่องว่างการเข้าถึงที่ใหญ่มากสำหรับหลายชุมชนของเรา

คำถาม: หุ่นยนต์ EKGAR เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของ STEAM Connection ชื่อ EKGAR ย่อมาจากอะไร?

ฉันสร้าง EKGAR ตอนฉันอายุ 18 ปี ชื่อของมันมีที่มาจาก Every Kid Gets a Robot มันคือชุดหุ่นยนต์ฟรีที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลและแจกจ่ายให้เด็กกว่า 8,000 คน มันเหมือนกับรถบังคับรีโมตที่นักเรียนประกอบ เดินสายไฟ และเขียนโค้ดด้วยตัวเอง ฉันสร้าง EKGAR ด้วยราคา $18.95 เพราะฉันเห็นหุ่นยนต์ราคาหลายร้อยดอลลาร์ แล้วฉันก็คิดว่า “ต้องมีอะไรดีกว่านี้สิ”

คำถาม: คุณสร้างหุ่นยนต์อะไรอีกบ้าง?

เรามีงานสร้างสรรค์มากมาย แต่ที่ฉันชอบที่สุดคือ SkoBot หุ่นยนต์เรียนรู้ภาษาชนพื้นเมือง นี่คือหุ่นยนต์ทางวัฒนธรรมตัวแรกที่สร้างขึ้นมา มันสวมใส่ได้และสอนภาษาชนพื้นเมือง เด็กๆ สามารถปรับแต่ง SkoBot ได้ด้วย ในชุมชนของเรา เรามีเครื่องหมายหรือชุดชนเผ่าต่าง ๆ กันไป นักเรียนสามารถตกแต่งหุ่นยนต์ได้ด้วยเครื่องหมายของตัวเอง การได้เห็นเด็ก ๆ ผูกพันกับหุ่นยนต์เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นมาก

มีงานหลายอย่างที่เราทำที่ STEAM Connection เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภาษา ภาษาของแํน โอจิเวโมวิน เป็นภาษาใกล้สูญพันธุ์

"การสร้างทรัพยากรที่ยกระดับนักเรียนในลักษณะที่นักเรียนรู้สึกเชื่อมโยง ไม่ว่าจะเป็นการมีต้นแบบในวงการ STEM ที่เป็นชนพื้นเมือง หรือจัดเตรียมชั้นเรียน ทรัพยากร หรือหุ่นยนต์ที่เด็ก ๆ ผูกพัน เป็นสิ่งที่มีความหมายกับฉันมากค่ะ"

คำถาม: ปฏิกิริยาของนักเรียนอะไรที่มีต่อหุ่นยนต์ของคุณหรือSTEAM Connection ที่มีความหมายกับคุณที่สุด

นักเรียนคนหนึ่งบอกว่า ฉันเป็นผู้หญิงชนพื้นเมืองคนแรกที่สร้างหุ่ยนต์ที่เธอเคยพบ และนั่นทำให้เธออยากทำบ้าง นั่นเป็นแรงกระตุ้นยิ่งใหญ่ที่ทำให้ฉันทำสิ่งที่ฉันทำอยู่ต่อไป

ฉันเคยพบกับการเหยียดเชื้อชาติและถูกมุ่งร้ายมามากในพื้นที่ STEM และนั่นเป็นสิ่งที่ชวนให้ท้อมาก การได้ยินเสียงนักเรียนผลักดันให้ฉันไปต่อ ฉันดีใจเมื่อได้เปรียบเทียบสิ่งที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ของนักเรียนกับตอนที่ฉันอายุเท่าพวกเขา ฉันรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นเด็ก ๆ ทุกวันนี้เป็นผู้นำ และสร้างสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก เพราะ

"ชนพื้นเมืองเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์เสมอมา แต่หลายสิ่งหลายอย่างถูกพรากไปจากเราเพราะการล่าอาณานิคม"

ตอนนี้ การได้ปลดปล่อยพื้นที่ STEM สมัยใหม่และสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ได้ถ่ายทอดทักษะที่เรามีเสมอมา เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และการได้เห็นเด็ก ๆ ฟื้นฟูคือสิ่งที่ฉันรู้สึกตื่นเต้นมากเกี่ยวกับอนาคต

การอบรมภาคปฏิบัติของ Danielle Boyer

คำถาม: ในขณะที่คุณเปิด STEAM Connection ใครเป็นอาจารย์ของคุณที่ช่วยเหลือและให้คำแนะนำกับคุณ?

แม้ว่าแม่และยายของฉันไม่ใช่คนที่เก่งด้านเทคนิคอะไร แต่พวกเธอช่วยเหลือฉันมากที่สุด คุณยายเป็นแรงบันดาลใจให้ฉันสร้างผลงาน ยายคอยโทรหาฉันและส่งข้อความส่งเสริมฉัน ยายเตือนให้ฉันเป้นตัวของตัวเอง เป็นต้นแบบที่ดี และเป็นญาติที่ดี 

แม่บอกว่าจะใส่อะไรให้ผู้อื่น เราต้องใส่ใจตัวเองก่อน การลงทุนในตัวเอง ลงทุนในการดูแลตัวเอง และดูแลสุขภาพจิตตัวเองเป็นรากฐานในการยกระดับคนอื่น ๆ

คำถาม: คุณพาตัวตนของตัวเองมาทำงานอย่างไร?

การทำงานกับนักเรียนและผู้คนที่มีภูมิหลังเหมือนกันและแบ่งปันประสบการณ์ของฉัน การไม่ต้องอธิบายเกี่ยวกับตัวเองหรือพูดถึงเรื่องลำบากใจที่ฉันไม่เคยเป็นสิ่งสำคัญมาก ในหลายพื้นที่ ฉันต้องสอนคนอื่นหรือพิทักษ์สิทธิให้ตัวเองและชุมชนของฉัน แต่เมืองฉันทำงานกับชนพื้นเมือง ฉันไม่ต้องทำแบบนั้น ฉันเป็นตัวของตัวเองได้ และฉันรักแบบนี้มาก

คำถาม: คุณหวังว่าอุตสาหกรรมจะไปในทิศทางใดในอีกสิบปีข้างหน้า?

ฉันอยากเห็นทางเข้าถึงวงการวิชาการและอาชีพ STEM หลายทางมากขึ้น มีพื้นที่มากขึ้นให้ทำงาน และผู้นำที่เป็นชนกลุ่มน้อยมากขึ้นในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ การเข้าสู่วงการ STEM นั้นมีอุปสรรค์มากมายในช่วงแรกเริ่ม แค่ตัวเลือกมหาวิทยาลัยดี ๆ ก็ยังเป็นเรื่องยาก จากนั้นเมื่อนักเรียนได้เข้าสู่อาชีพ STEM ก็ยังไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย

"นอกจากนี้ ฉันยังอยากเห็นความรู้จากผู้คนที่อยู่นอกวงการวิชาการเดิม ๆ ความรู้มากมายของเรามาจากผู้อาวุโส แต่ในวงวิชาการ ผู้คนไม่ได้ใส่ใจเรื่องนั้น"

พวกเขาไม่เห็นว่านั่นเป็นแหล่งความรู้ที่มีค่าสำหรับเอกสารหรือการศึกษา ความรู้ของชนพื้นเมืองและการเชื่อมโยงกับโลกและพื้นที่ในวงวิชาการและเทคโนโลยีมีการตัดขาดกันอย่างใหญ่หลวง 

ภาพของ Danielle Boyer

เชื่อมต่อกับ Danielle ทาง LinkedIn, Instagram และ Twitter เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานของเธอทางเว็บไซต์ของเธอหรือที่ STEAM Connection

Women Who Master ฉายแสงให้กับผู้หญิงที่มีคุณูปการในวงการ STEM เป้าหมายของซีรีส์นี้คือเพื่อชื่นชมการมีส่วนร่วมเหล่านี้ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้นำในอนาคต และช่วยปิดช่องว่างระหว่างเพศในวงการเทคโนโลยี

เครดิตภาพถ่าย: Danielle Boyer

#WOMEN­WHOMASTER

พบกับผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของวงการ STEM

Kate Kirwin

เมื่อ Kate Kirwin ไม่พบชุมชนการเขียนโค้ดที่เธอรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง เธอจึงสร้างขึ้นมาเอง ปัจจุบัน ในฐานะผู้ก่อตั้ง She Codes เธอกำลังสร้างชุมชนทั่วออสเตรเลีย ที่ซึ่งหญิงสาวสามารถเรียนรู้ทักษะทางเทคนิค พึ่งพาอาศัยกันและกัน และค้นหาเส้นทางสู่อาชีพได้

Kavya Krishna

จากที่ Kavya Krishna เติบโตขึ้นมา มีผู้หญิงในชุมชนอินเดียชนบทเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่มีอิสระทางการเงิน พวกเธอขาดโอกาสและการเข้าถึงข้อมูลเพื่อที่จะเป็นอิสระ ตอนนี้เธอสอนทักษะดิจิทัลให้แก่ผู้หญิงจากชุมชนที่ด้อยโอกาสและที่ตกอยู่ในความเสี่ยงทั่วโลก

Yuko Nagakura

ตอนยังวัยรุ่น Yuko Nagakura สังเกตว่า มีความไม่เท่าเทียมทางเพศมากมายขนาดไหนในที่ที่เธออาศัยอยู่และในวงการเทคโนโลยี ดังนั้นเธอจึงเปิดกลุ่มออนไลน์สองกลุ่มเพื่อช่วยให้เด็กสาวทำลายการเหมารวมและสร้างทักษะการเขียนโค้ด