Yuko Nagakura - ผู้ก่อตั้ง World Coding Club และ SHEQUALITY

ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
Pangea temporary hotfixes here

Yuko Nagakura เริ่มเรียนรู้การเขียนโค้ดตอนอายุ 9 ปี ตอนนี้เธออายุ 17 ปี และสร้างชุมชนระดับโลกสองแห่งที่เชื้อเชิญให้เด็กสาวก้าวเข้าสู่วงการเทคโนโลยี และท้าทายความไม่เสมอภาคทางเพศในอุตสาหกรรม Yuko มาพบกับ Logitech MX เพื่อสัมภาษณ์ให้กับซีรีส์ #WomenWhoMaster โดยพูดคุยถึงความหลงใหลในการเขียนโค้ดของเธอ วิธีการช่วยเหลือเด็กสาวที่อายุน้อยกว่าเธอ และวิธีที่ชุมชนระดับโลกของเธอนี้ท้าทายแม้แต่มุมมองด้านสิทธิสตรีของเธอเอง

คำถาม: เล่าให้ฟังหน่อยว่าคุณเติบโตมาอย่างไร คุณเป็นเซียนคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่แรกเลยรึเปล่า?

​ฉันอยู่ที่ญี่ปุ่น และฉันเป็นชาวญี่ปุ่น แต่เมื่ออายุได้ 6 ถึง 14 ปี ฉันย้ายไปอยู่สหรัฐอเมริกา การเติบโตในสหรัฐฯ ทำให้ฉันมีโอกาสมากมายที่เด็กๆ ในประเทศอื่นอย่างญี่ปุ่นอาจไม่มี ส่วนนี้เองที่เป็นแรงบันดาลใจให้ฉันทำเพื่อสังคม

ฉันชอบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ยังเด็กมากๆ ค่ะ ฉันขอคอมพิวเตอร์จากพ่อแม่ตอนฉันอายุ 8 ขวบ พ่อแม่หาเป็นของขวัญคริสต์มาสให้ฉันและฉันก็ตกหลุมรักทันที ตอนฉัน 9 ขวบ ฉันเริ่มเขียนโค้ดทางแพลตฟอร์มออนไลน์ชื่อว่า Scratch พ่อแม่ของฉันคอยสนับสนุนอยู่เสมอค่ะ

“ฉันคิดว่าการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ * เป็นปัจจัยที่สร้างการเปลี่ยนแปลง ทำให้นักเรียนคนรุ่นใหม่ต้องการสำรวจพื้นที่ต่างๆ”

คำถาม: คุณเริ่ม World Coding Club องค์กรนักเรียนที่อุทิศให้กับการศึกษาด้านเทคโนโลยีที่มีคุณภาพเชิงปฏิบัติสำหรับคนรุ่นใหม่ โดยการแนะนำให้พวกเขารู้จักกับวิทยาการคอมพิวเตอร์และกิจการทางเทคโนโลยี ความสนใจในด้านเทคโนโลยีตั้งแต่อายุยังน้อยมีส่วนให้เกิดการก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหากำไรอย่างไร?

ในสหรัฐฯ ฉันทุ่มเทกับการแฮกกาธอน การแข่งเขียนโค้ด และกิจกรรมและทัวร์นาเมนต์การเขียนโค้ดมาก ๆ ค่ะ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ฉันพัฒนาทักษะการเขียนโค้ดและความหลงใหลของฉันโดยทั่วไป

เมื่อฉันย้ายกลับไปญี่ปุ่น สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปแล้ว แนวคิด World Coding Club เริ่มต้นที่โรงเรียน ตอนที่ครูเข้ามาสอนวิชาเขียนโค้ด มันไม่สนุกเลยค่ะ!

"ฉันจำได้ว่าเพื่อนในห้องบอกว่า “วิชานี้น่าเบื่อจังเลย” ตอนนั้นเองที่ฉันคิดว่า: "เดี๋ยวนะ ยังมีที่มากมายเปิดโอกาสการเขียนโค้ดสนุกๆ ให้กับนักเรียนมัธยมต้นถึงมัธยมปลายในญี่ปุ่น"

หนึ่งปีต่อมาฉันก่อตั้ง World Coding Club กับนักเรียนมัธยมอีกคนหนึ่ง ซึ่งก็ย้ายจากสหรัฐฯ มาญี่ปุ่นเหมือนกัน สิ่งแรกที่เราทำคือการจัดแฮกกาธอนสำหรับนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายในญี่ปุ่น ปัจจุบัน เราได้รับการลงทะเบียนมาจากทั่วโลก ในงานแฮกกาธอนครั้งล่าสุด มีนักเรียนจาก 30 ประเทศเข้าร่วม

คำถาม: คุณสอนนักเรียนรุ่นน้องอย่างไร?

การสอนนักเรียนรุ่นน้องเป็นส่วนที่ยอดเยี่ยมที่สุดจากทั้งหมดนี้ค่ะ เราสื่อสารกับนักเรียนโดยตรงในช่วงแฮกกาธอนผ่าน Discord และการสื่อสารรูปแบบอื่น ๆ ที่อาจช่วยหรือกระตุ้นพวกเขา เช่น “เฮ้ ลองทำแบบนี้กับโปรเจ็กต์ดูสิ” การได้สานสัมพันธ์กับนักเรียนและช่วยพวกเขาทุกทางที่เราทำได้เป็นสิ่งที่เจ๋งมากเลยค่ะ

ภาพใบหน้า Yuko Nagakura Sheqality

คำถาม: คุณมีครูผู้สอนไหม?

มีค่ะ เธอไม่ได้สอนการเขียนโค้ดให้ฉัน แต่ตอนฉันอายุ 13 ปี ครูวิชาวรรณกรรมภาษาอังกฤษสอนฉันเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิสตรีในวรรณกรรม ครูเองก็เป็นผู้สนับสนุนสิทธิสตรีเหมือนกัน วิชาของเธอจุดประกายความสนใจของฉันในการทำกิจกรรม และฉันคิดว่า ครูช่วยฉันสร้างชุมชนที่ส่งเสริมสตรีนิยม เช่น World Coding Club และ SHEQUALITY ขึ้นมาอย่างอ้อมๆ

คำถาม: SHEQUALITY คืออะไรและเริ่มต้นมาได้อย่างไร?

SHEQUALITY คือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่นักเขียนหญิงจากทั่วโลกเผยแพร่บทความเกี่ยวกับสิทธิสตรีจากมุมมองระดับโลก เราเพิ่งเผยแพร่บทความครบ 100 บทความ!

ทั้งหมดเริ่มต้นตอนที่ฉันย้ายมาญี่ปุ่นจากสหรัฐอเมริกา ฉันสังเกตว่าสิทธิสตรีและความเท่าเทียมทางเพศที่นี่มีความต่างออกไป ทั้งดีและไม่ดี ฉันสนใจในความแตกต่างเหล่านี้ ดังนั้นฉันจึงเริ่มเขียนบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่ฉันเห็น

จากนั้นฉันเริ่มเรียนออนไลน์ตอนอายุ 15 ปี ทันใดนั้นเพื่อนร่วมชั้นของฉันก็มาจากสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เราต้องเขียนแนะนำตัวและของฉันเขียนถึงความสนใจในสิทธิสตรี นักเรียนส่วนหนึ่งติดต่อฉันมา และบอกว่ามันเจ๋งมาก ทำให้ฉันคิดว่า บางทีฉันอาจเปลี่ยนบันทึกให้กลายเป็นแพลตฟอร์มจริงๆ และเชิญสาวๆ คนอื่นมาเข้าร่วม ตอนนั้นเองที่ฉันเริ่มต้น SHEQUALITY. 

ทีมตั้งแต่เรามีเด็กผู้หญิง 6 คนจากที่ต่าง ๆ จากนั้นเด็กผู้หญิงคนอื่นที่อ่านบทความบอกว่า พวกเธอต้องการเข้าร่วมด้วย ดังนั้นเราจึงขยายทีมออกไปเรื่อย ๆ ตอนนี้เรามีนักเขียนจากทุกทวีปเลยค่ะ

คำถาม: ฟังดูเหมือนว่า SHEQUALITY ที่คุณเริ่มต้นขึ้นมาช่วยเปลี่ยนโลก แต่คุณเปลี่ยนไปด้วยไหม?

ในสหรัฐอเมริกา สิทธิสตรีเป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องของทุกคน แม้แต่ผู้ชายก็เป็นผู้สนับสนุนสิทธิสตรีได้ และนั่นเป็นมุมมองเดียวที่ฉันมี แต่มีบทความหนึ่งจากเด็กหญิงในคอสตาริกา ที่ทำให้ฉันตระหนักว่า มุมมองเกี่ยวกับสิทธิสตรีนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และภูมิภาคที่ฉันอยู่อาศัย ฉันตระหนักว่า ความต้องการด้านสิทธิสตรีในภูมิภาคหนึ่ง ผู้ที่มีส่วนร่วม และเป้าหมายการเคลื่อนไหว อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม

"การอ่านบทความและพูดคุยกับเด็กผู้หญิงคนอื่น ๆ เป็นประสบการณ์ที่เปิดโลกฉันมากค่ะ เพราะมีเด็กผู้หญิงจากมุมมองหลากหลายวัฒนธรรม ทำให้วิธีการคิดของฉันเกี่ยวกับสิทธิสตรีเปลี่ยนแปลงไป"

คำถาม: ในวงการ STEM และวิทยาการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คุณอยากให้มีอะไรที่เหมือนกัน?

ฉันหวังให้ไม่มีความจำเป็นที่ทำให้ฉันต้องทำสิ่งที่ทำอยู่ค่ะ มีกลุ่ม NPO (องค์กรไม่แสวงหากำไรมากมาย) และองค์กรอื่น ๆ ในโลกที่ทำสิ่งที่ต้องทำ แต่ฉันหวังว่าในอนาคต ความจำเป็นที่จะต้องแสดงออกอย่างชัดเจนว่าผู้หญิงและเด็กผู้หญิงได้รับการต้อนรับในวงการเทคโนโลยีนั้นน้อยลง

เชื่อมต่อกับ Yuko ทาง LinkedIn เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ SHEquality โปรดไปที่ Shequalityblog.org

Women Who Master ฉายแสงให้กับผู้หญิงที่มีคุณูปการในวงการ STEM เป้าหมายของซีรีส์นี้คือเพื่อชื่นชมการมีส่วนร่วมเหล่านี้ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้นำในอนาคต และช่วยปิดช่องว่างระหว่างเพศในวงการเทคโนโลยี

เครดิตภาพถ่าย: Yuko Nagakura

#WOMEN­WHOMASTER

พบกับผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของวงการ STEM

Nelly Cheboi

ตอนที่เธอเป็นน้องใหม่ในวิทยาลัย Nelly Cheboi ต้องการพัฒนาทางออกเพื่อกำจัดปัญหาความยากจนในประเทศบ้านเกิดของเธอที่เคนยา ดังนั้นเธอถึงก่อตั้งโรงเรียน และต่อมาก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหากำไรที่จสอนทักษะการรับรู้ความสามารถของตนเอง การแก้ไขปัญหา และการใช้อินเทอร์เน็ต

Nadia Zhuk

สมัยยังเป็นเด็ก Nadia Zhuk รู้สึกกลัวเทคโนโลยี แต่ตอนนี้เธอกลายเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง นาเดียแบ่งปันให้ฟังว่าตัวตนของเธอในฐานะผู้หญิง ผู้อพยพ และนักเปลี่ยนอาชีพ ได้หล่อหลอมเส้นทางของเธอในสาขาเทคโนโลยีอย่างไรบ้าง

Jerelyn Rodriguez

Jerelyn Rodriguez ต้องการช่วยให้ผู้คนจากชุมชนรายได้น้อยปรองดองกันเป็นหนึ่งเดียว ผู้ก่อตั้งร่วมของ The Knowledge House ตอบแทนชุมชนของเธอในบร็องซ์ เพื่อช่วยให้ผู้คนมากขึ้นมีหนทางสู่งานทางเทคโนโลยีที่มีรายได้สูง