Jerelyn Rodriguez ผู้กำหนดนิยามใหม่ของแม่แบบนักเทคโนโลยี

ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
Pangea temporary hotfixes here

Jerelyn Rodriguez ไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นคนเก่งเทคโนโลยี แต่เธอเก่งมาก หลังจากการเข้าสู่วงการด้วยวิธีที่ไม่ธรรมดา ตอนนี้ Jerelyn กำลังกำหนดนิยามใหม่ของแม่แบบนักเทคโนโลยี ในฐานะผู้ก่อตั้งร่วมขององค์กรไม่แสวงหากำไร The Knowledge House Jerelyn คอยสอนทักษะดิจิทัลให้แก่กลุ่มวัยคนรุ่นใหม่ที่ถูกมองข้าม เพื่อปิดช่องว่างของเส้นทางระหว่างการศึกษาสู่การจ้างงานในวงการเทคโนโลยี Jerelyn มาพบกับเราผ่าน #WomenWhoMaster เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการสร้างเส้นทางอาชีพทางเลือกสู่เทคโนโลยี และเหตุผลที่เธอแนะนำให้ผู้หญิงทุกคนมีคณะกรรมการส่วนตัว

ถาม: คุณมีภูมิหลังด้านภาพยนตร์ คุณเปลี่ยนจากอาชีพภาพยนตร์ไปสู่อาชีพด้านเทคโนโลยีและการศึกษาได้อย่างไร?

ฉันเติบโตขึ้นพร้อมกับการศึกษาการถ่ายทำภาพยนตร์ค่ะ ตอนนั้นการถ่ายทำภาพยนตร์จะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสม เทปพิเศษและเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนฟุตเทจเป็นไฟล์ดิจิทัลก่อนการตัดต่อ จากนั้น YouTube ก็เกิดขึ้นมา การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น ทำให้คนทั่วไปสามารถสร้างหนังสั้นได้ ตอนนั้นเองที่ฉันตกหลุมรักเทคโนโลยี เพราะฉันได้เห็นว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนโฉมภาพยนตร์และทำให้คนทั่วไปเข้าถึงการเล่าเรื่องได้อย่างไร

ในสมัยวิทยาลัย ฉันเรียนเอกการศึกษาภาพยนตร์ หลังจากเรียนจบ ฉันพบอุปสรรค ฉันไม่มีเครือข่าย ฉันไม่มีครู ฉันไม่มีการฝึกงานเพื่อทำงานในวงการภาพยนตร์เป็นครั้งแรก นักถ่ายทำภาพยนตร์มากมายถูกค้นพบหลังจากรับการฝึกงานไม่มีค่าจ้างที่บริษัทสตูดิโอและโปรดักชั่น ฉันไม่มีตัวเลือกนั้น ฉันต้องทำงานหาเงิน ดังนั้นฉันจึงเริ่มทำงานด้านการศึกษา

ถาม: ตอนไหนที่คุณรู้ว่าคุณต้องการช่วยขยายทักษะ STEM ในบร็องซ์?

ฉันเริ่มต้นขณะที่ฉันเลือกระดับวิทยาลัยค่ะ ฉันอยู่ที่ Yale เพื่อรับการสัมภาษณ์เข้าเรียนและในวิทยาเขต มีการประชุมที่พูดเรื่องช่องว่างความสำเร็จ นั่นเป็นครั้งแรกที่ฉันรู้ชื่อของปัญหาที่ฉันได้พบเจอในชุมชนที่ฉันเติบโตขึ้นมา การเห็นว่าคนผิวขาวฐานะดีกำลังศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนของฉันเป็นช่วงเวลา “อ๋อ” ของฉัน จากนั้นฉันรู้ว่า ฉันอยากจะตอบแทนและยกระดับชุมชนของฉันขึ้นมา

Jerelyn Rodriguez ทำงานข้ามคืน

ถาม: เมื่อเป็นเรื่องของโรคมองตัวเองไร้ค่า ผู้หญิงมักเผชิญกับอุปสรรคแบบไหนที่แตกต่างออกไป?

ฉันส่งเสริมให้เพื่อนๆ ที่ลงทะเบียนในโปรแกรมที่ The Knowledge House ให้คำนึงถึงสิ่งที่มี การคำนึงถึงสิ่งที่มีมุ่งเน้นที่สิ่งที่นักเรียนทำได้แทนที่จะมองว่าทำอะไรไม่ได้ คนผิวดำ คนผิวคล้ำ และคนรายได้น้อย เราแตกต่าง เพราะเราก้าวข้ามขความท้าทายมากมายในชีวิต โรคมองตัวเองไร้ค่าทำให้เราคิดถึงความแตกต่างของเราในเชิงลบ เราต้องเปลี่ยนเรื่องนั้นและมองความแตกต่างของเราในเชิงบวก เช่น ในการสัมภาษณ์ คนหนึ่งอาจเล่าเรื่องที่ตัวเองก้าวข้ามมากได้ จากนั้นแสดงให้เห็นว่าเรื่องนั้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานได้ดี

โดยเฉพาะผู้หญิงต้องมองว่าตัวเองคู่ควรอยู่ในวงการเทคโนโลยี ไม่ว่าตัวเองจะมีระดับทักษะแค่ไหน มุมมองของพวกเธอขาดหายไปจากสถานภาพปัจจุบัน เพื่อแสดงให้ผู้หญิงเห็นว่า พวกเธอคู่ควร เรานำผู้หญิงที่เรียนจบไปมาพูดคุยกับทุกคน ให้นักเทคโนโลยีหญิงมานำช่วงการให้ข้อมูล และจัดกิจกรรมชุมชนที่เน้นที่นักเทคโนโลยีหญิงผิวดำ

"การเห็นผู้หญิงคนอื่นประสบความสำเร็จแสดงให้เพื่อนของเราเห็นว่า เพื่อนคนอื่นๆ ก็พบความท้าทายเดียวกัน และโน้มน้าวนักเรียนว่า อาชีพวงการเทคโนโลยีนั้นเป็นไปได้ พวกเขาจะคิดได้ว่า “ฉันเห็นแล้ว ดังนั้นฉันจะเชื่อ ฉันจะเป็นคนๆ นี้ได้” “

ถาม: คุณมีผู้สอนคนเดียวหรือหลายคน?

ใช่แล้ว! ฉันคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีความหลากหลายในหมู่ผู้สอน ฉันสอนและฝึกความคิดของการสร้างคณะกรรมการส่วนตัว 

ในคณะกรรมการส่วนตัวของฉัน จะมีต้นแบบคนหนึ่ง เป็นคนที่ฉันรู้สึกอยากเป็นและผู้ที่เผชิญอุปสรรคที่คล้ายกัน สำหรับฉัน คนๆ นั้นคือผู้หญิงและคนผิวดำ แต่ฉันยังหามุมมองอื่นด้วย ผู้สอนของฉันมากมายเป็นผู้ชายผิวขาว ฉันได้เรียนรู้มากมายเกี่ยวกับสถานะที่เป็นอยู่ ทำไมสิ่งต่างๆ จึงเป็นแบบนี้ และวิธีการพุดคุยกับผู้ชายผิวขาวที่มีอำนาจ เพราะสุดท้ายแล้ว ในฐานะผู้บริหารองค์กรไม่แสวงหากำไร ฉันต้องมีการระดมทุน  คณะกรรมการของฉันหมุนเวียนกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเป็นพิเศษสำหรับผู้ประกอบการ

"งานของเราเปลี่ยน บริษัทของเราเปลี่ยน และเราพบความท้าทายต่างๆ กันขณะที่เราเติบโต การหมุนเวียนกลุ่มผู้สอนทำให้เรามีการสนับสนุนที่เหมาะสมในทุกขั้นตอน”

ถาม: มีอะไรที่คุณอยากเห็นในเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมหรือไม่?

ฉันต้องการให้นายจ้างหันมาใช้เครื่องมือแปลกใหม่ในการตรวจสอบผู้มีความสามารถมากขึ้น บริษัทมากมายบอกว่า พวกเขาเลิกข้อกำหนดที่จะต้องรับปริญญาตรีแล้ว แต่เมื่อเราเสนอประวัติย่อไปให้พันธมิตรนายจ้าง และตัดชื่อวิทยาลัยออกไป นายจ้างก็มักพยายามหาข้อมูลนี้อยู่เสมอ ฉันอยากให้นายจ้างมองหาอย่างอื่น ดูที่แฟ้มผลงาน ดูที่ GitHub

ในทำนองเดียวกัน ฉันอยากให้ภาคธุรกิจเทคโนโลยีใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบใหม้ให้เป็นเรื่องปกติ ประเภทของใบรับรอง ไม่ว่าจะ เหรียญตรา ใบรับรอง และอื่นๆ ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงบ่อย หากมีการประสานงานมากขึ้นระหว่างบริษัท เพื่อบอกว่านายจ้างจะยอมรับอะไรเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม สำหรับพนักงานที่ไม่ได้มาจากวิธีปกติ วิธีนี้จะช่วยเปิดประตูมากมายค่ะ

Jerlyn Rodriguez กำลังประชุมในสำนักงาน

คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับ Jerelyn ได้ที่ The Knowledge House ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ The Knowledge House เข้าไปที่ @TheKnowledgeHouse ทาง Instagram, @TheKnowledgeHou ทาง Twitter และ The Knowledge House ทาง LinkedIn เชื่อมต่อกับ Jerelyn ทาง Twitter ที่ @jerelyn_r, Instagram @Jerelyn_r และ LinkedIn  

Women Who Master ฉายแสงให้กับผู้หญิงที่มีคุณูปการในวงการ STEM เป้าหมายของซีรีส์นี้คือเพื่อชื่นชมการมีส่วนร่วมเหล่านี้ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้นำในอนาคต และช่วยปิดช่องว่างระหว่างเพศในวงการเทคโนโลยี

เครดิตภาพถ่าย: The Knowledge House

#WOMEN­WHOMASTER

พบกับผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของวงการ STEM

Faiza Yousuf

Faiza Yousuf มุ่งมั่นที่จะช่วยผู้หญิงในปากีสถานได้ไขว่คว้าและก้าวหน้าในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ไม่ว่าจะค่ายเขียนโค้ด จนถึงการผลักดันอาชีพ เธอสร้างการมองเห็น ชุมชน และการไม่แบ่งแยกในประเทศของเธอ

Gabby Llanillo

ซีรีส์ Women Who Master - ในฐานะเกมเมอร์มาตลอดชีวิต หญิงสาวในวงการ STEM คนนี้พัฒนาจากการเล่นเกมไปสู่การสร้างเกม ระหว่างทางเธอไม่แคร์สิ่งใด ๆ

Sara Inés Calderón

ซีรีส์ Women Who Master - หญิงสาวที่รักหนังสือพบการเขียนโค้ดจากการเป็นนักข่าว เธอเชื่อว่าชุดทักษะที่หลากหลายเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี